ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กอมก้อดำ (กะเพรา)
กอมก้อดำ (กะเพรา)
Ocimum sanctum, Linn
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ LABRATAE
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum, Linn
 
  ชื่อไทย กะเพรา
 
  ชื่อท้องถิ่น ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กอมก้อดง กอมก้อดำ กระเพรา (ภาคเหนือ), กระเพรา อีตู่ไทย (อีสาน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 - 60 ซม. โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม แบบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขน
 
  ดอก ดอก เป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ออกเป็นวงรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ ก้านดอกยาว 2-3 มม. และกางออกตั้งฉากกับแกนช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปคล้ายระฆัง ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ส่วนกลางแยกเป็น 4 แฉก ปลายแหลมเรียว ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบดอกสีขาว หรือขาวปนม่วงแดง ด้านบนมี 4 กลีบ ด้านล่างมี 1 กลีบ ขนาดยาวกว่าด้านบน ตรงกลางกลีบเว้าตื้นๆ ปลายกลีบม้วนพับลง
 
  ผล ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบบำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
- เมล็ด นำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า
- รากใช้รากที่แห้แล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำได้ดีแสงแดดจัด
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง